วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียนนวัตกรรม


สิ่งที่ได้จากการเรียนนวัตกรรม ซึ่งได้ความรู้มากมายในการเรียน เช่น การทำ Power Point การระบายสีจากสีไม้โดยการใช้เทคนิคต่างๆ ที่ทำให้ภาพออกมาสวย และการสร้าง blog เพื่อแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง
รวมถึงการทำ Photoshop ซึ่งไม่เคยได้เรียนมาก่อนอาจจะยากบ้างในการทำแต่ละขั้นตอน แต่เมื่อทำเป็นแล้วรู้สึกว่าสนุกอยากทำต่อ ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้

สรุปการเรียนการสอน

1.สื่อการสอน

1.1 ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้

ประโยชน์ของสื่อการสอน
1 ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
2 ช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
3 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
4 ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
5 ช่วยให้สามารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
6 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
7 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน

1.2 ประเภทของสื่อการสอน
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material) เป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราว หรือความรู้ไว้ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น สไลด์ (บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะภาพนิ่ง) หนังสือ (บรรจุเรื่องราว เป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) แผ่นเสียง เทปเสียง (บรรจุเรื่องราวไว้เป็นเสียง) สื่อประเภทวัสดุ สามารถจำแนกออกได้อีก 2 ชนิด คือ
1.1 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ จึงจะสามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ไปยังผู้เรียนได้ เช่น
แผ่นเสียง เทปวีดิทัศน์ ภาพโปร่งใส เป็นต้น
1.2 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่สามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ได้โดยตัวเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ลูกโลก รูปภาพ หนังสือ เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทเทคนิค และวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น

1.3 การออกแบบสื่อการสอน
การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน - รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ - ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม - สภาพการเรียน - ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ - ราคาที่เหมาะสม ในการพิจารณาออกแบบสื่อการเรียนรู้ เพื่อประกอบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้

1.4 การใช้สื่อการเรียนการสอน
หลักการใช้สื่อการสอน
การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning)
2. การเตรียมการ (Preparation)
เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)
1.5 การวัดและการประเมินสื่อการเรียนการสอน
ในการประเมินผลสื่อการสอน มีสิ่งสำคัญที่ควรทำการประเมิน 3 สิ่ง คือ การวางแผนการใช้สื่อการสอน การนำเสนอหรือการใช้สื่อการสอน และผลของการใช้สื่อการสอนที่เกิดกับผู้เรียน ซึ่งแต่ละอย่างมีรายละเอียดดังนี้ (กิดานันท์, 2540: 96)
1. การประเมินผลการวางแผนการใช้สื่อการสอน
2. การประเมินผลกระบวนการของการใช้สื่อการสอน
3. การประเมินผลสิ่งที่เกิดจากการใช้สื่อการสอน
2. การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก
การออกแบบสื่อการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอนลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1. ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้นองค์ประกอบของการออกแบบ
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )

2. การออกแบบสื่อวัสดุกราฟิก

2.1 ภาพตัวอย่างสื่อวัสดุกราฟิก 5 ชิ้น


การ์ตูน (Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ การ์ตูน(Cartoons) เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เป็นต้น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใน ให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน
สัญลักษณ์ (Symbol) คือการสื่อความหมายที่ให้มนุษย์ ในสังคมเข้าใจร่วมกัน
ในแนวทางเดียวกัน โดยการออกแบบ เป็นรูปลักษณ์ต่าง ๆ ในลักษณะ
ภาพลายเส้น การเขียนสัญลักษณ์ อาจใช้วิธีลอกแบบ เลียนแบบจากธรรมชาติ
รูปภาพ(Photographic) เป็นงานกราฟิกประเภทหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักการทางศิลปะ เช่นเดียวกันประกอบ กับเครื่องมือเพื่อใช้ใน การถ่ายภาพ คือ กล้องถ่ายภาพนั่นเอง กล้องถ่ายภาพในปัจจุบันมีมากมาย หลายรูปแบบ

แผนที่(Maps and Globe) เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว

แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ
แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
แต่ไม่ย้อนกลับมาที่จุดเริ่มต้นอีก

3. การเรียนโปรแกรม PhotoShop
Photoshop เป็นโปรแกรมในตระกูล Adobe เป็นโปรแกรมที่ใช้ตกแต่งภาพหัวใจของ Photoshop คือการทำงานเป็น LayerLayer คือ ชั้นของรูปภาพ วัตถุ จะไม่เกี่ยวข้องกัน
การตั้งค่าหน้ากระดาษ มีวิธีการดังนี้ไปที่ เมนู File > New จะกำหนดค่าต่างๆคือ
Width : กำหนดความกว้าง
Height :กำหนดความสูง
ควรเปลี่ยนหน่วยวัดด้านหลังก่อนกำหนดตัวเลข เช่น inches, pixels, cm ,mmResolotion : กำหนดเป็น 300
Mode : กำหนดโหมดสี ควรกำหนดเป็น RGB ก่อน เป็นสีของแสง สีที่ใช้ในโรงพิมพ์ Picment คือ เม็ดสี ฝุ่นสีก็คือโหมด CMYK
C = Cyan สีฟ้า
M= Mageta สีม่วงแดง
Y=Yellow สีเหลือง
K=Black สีดำContent กำหนด Background
White พื้นจะเป็นสีขาว
Transparent พื้นจะเป็นสีใส หรือ โปร่งแสง
การเปิดภาพที่เราต้องการ มีวิธีการดังนี้
ไปที่เมนู File > Open เลือก ไฟล์ต่างๆที่ต้องการภาพ หากต้องการมองภาพให้ทำให้เป็น thumbnailsแล้วดับเบิลคลิกที่ภาพจะได้ภาพที่ต้องการ
การตัดภาพ
การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop สามารถใช้เครื่องมือได้หลายชนิด เช่นไปที่ Elliptical Marquee tool แล้วลากที่ภาพ จะขึ้นเป็นเส้นselection ถ้าต้องการยกเลิกมี 3 วิธี
1. คลิกที่ภาพ
2. Ctrl + D
3. ไปที่เมนู Select > Deselectเมื่อลากที่ภาพแล้วใช้ Arrow Key เลื่อน
การทำภาพเพิ่ม
1. ไปที่ Edit > Copy แล้วไปที่ Edit > Paste เส้น Select จะหายไป ได้ Layerที่ 2
2. Ctrl+T หรือ ไปที่เมนู Edit >Free Tranfrom
3. กด Shift ย่อภาพที่มุม
4. Ctrl +T
5. ลากกลับภาพ แล้ว enter Ctrl +T จะหาย
ขั้นตอนการตกแต่งภาพ
1. Double คลิก Layerจะเป็น Layer Style เลือก Bevel and Emboss การทำให้นูน
2. ตั้งค่า ต่างๆ smooth, depth, size, soften ให้ภาพดูสวย
3. Double คลิก Layer 2 เลือก Drop Shadow ใส่เงา ตั้งค่าตามต้องการ
4. ไปที่ Opacity เป็นการปรับภาพให้จางลง
การแก้ไขงาน ทำได้ 2 วิธี คือ
1. Ctrl + Z เป็นการกลับไปยังคำสั่งสุดท้าย
2. ไปที่ History เลือกกลับไปยังครั้งที่ต้องการแก้ไข
การตัดพื้นการใช้ Polygonal Lasso Tool คลิกที่ภาพแล้วปล่อยจึงคลิกที่ภาพต่อไปเรื่อยๆ ถ้าต้องการตัดพื้นหลังออกให้คลิกในพื้นหลังจนกลับถึงจุดแรกให้เป็นเส้น select แล้วลบ พื้นหลังจะถูกลบออก ทำเช่นนี้ต่อไปจนได้ภาพที่ต้องการ แล้วจึงใช้ยางลบ ลบพื้นหลังที่ที่ยังเหลือให้มีเพียงภาพ แล้วจึงค่อย
ตกแต่ง
การบันทึกงาน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
การ Save งานในนามสกุล PSD เพื่อสามารถไว้แก้ไข แต่จะเปลืองพื้นที่ มีวิธีการดังนี้
1. เลือกเมนู File > Save as
2. กำหนด Folder ที่จะเก็บงาน ชื่อและประเภทของไฟล์ ที่จะ save
3. กำหนดค่าต่างๆ และที่ช่อง save กำหนดเป็น สกุลของ Photoshop คือ .psd
การ Save งานในนามสกุล JPEG เป็นการ save ที่ไม่สามารถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่เป็นการsave ที่ไม่เปลืองพื้นที่3. การ Save งานในนามสกุล GIF เป็นการ save ที่ไม่สามรถแก้ไขงานได้ เป็นงานที่สมบูรณ์แล้ว แต่จะเป็นการ save ที่จะไม่ติดพื้นหลังมาด้วยเมื่อมีการตัดภาพ (พื้นโปร่ง)
การใช้ Filter
เมื่อได้ภาพที่ตัดสมบูรณ์แล้ว สามารถใช้ Filter ในการปรับแต่งภาพโดยวิธีดังนี้ เช่นไปที่ เมนู Filter > Stylize > Emboss สามารถปรับค่าต่างๆ ให้ภาพดูสวย พอใจแล้ว OKสามารถปรับแต่งภาพโดยใช้ Filter ได้หลายวิธีตามความต้องการ เช่น Sketch ,Artistic และอื่นๆโดยการ save ภาพต้นฉบับไว้ 1 ภาพ เพื่อสำหรับปรับแต่งภาพไว้หลายๆแบบ ไว้เลือกหรือเปรียบเทียบ
4. วิธีการสร้าง bloger
1. สมัครทำ blog ฟรี ที่ Blogger.com
2.บริการ blog host ก็คล้ายๆ กับของฟรีอย่างอีเมลฟรีหรือโฮมเพจฟรี ที่เราต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ blog host นั้นๆ ก่อน จึงจะเริ่มใช้งานจริงได้ และขั้นตอนการสมัครสมาชิกกับ Blogger.com ก็มีรายละเอียดที่ควรต้องอธิบายมากพอสมควรด้วย
3.ใช้ BlogSpot ดีหรือเปล่า
4.เริ่มต้นสมัครสมาชิก ได้แล้ว blog แรก
BLOG GUIDE
ได้เวลาใช้ Blogger.com กันแล้ว
Blogger.com เป็น blog host ที่ใช้ง่าย มีความสามารถพอตัว และเป็นที่นิยมกันมาก ดังนั้น ถึงมันจะไม่ได้เลิศหรูดีที่สุดในโลก แต่สำหรับคนที่ไม่เคยมาก่อน
การตั้งต้นเรียนรู้วิธีทำ blog กับ Blogger.com น่าจะเหมาะที่สุดแล้ว
1.รู้จักหน้าค่าตา blog ของคุณ
2.ลัดไปทำโพสต์แรกกันก่อน
3.หน้าจอทำ blog มีอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง
วิธีเขียนโพสต์ให้ได้ดังใจ
1.เอาโพสต์ไปลงใน blog
2.ตรวจตรา-ตัดต่อโพสต์
3.ขุดคุ้ยโพสต์เก่ามาดูใหม่
4.ร่วมมือทำ blog กันเป็นทีม ครบถ้วนทุกกระบวนท่า
5.BLOG GUIDE
แต่ง blog ตามใจฉัน
1.พอทำ blog ไปได้สักพัก อาจจะเริ่มคันไม้คันมืออยากเปลี่ยนอะไรๆ
2.ให้ blog ให้มันดูดีขึ้น ในบทนี้เราจะว่าด้วยการปรับแต่งค่าต่างๆ เพื่อให้ blog แสดงผลได้ถูกใจคุณมากกว่าเดิม รวมทั้งไขปัญหาเรื่องทำ blog ภาษาไทยยังไงให้ Blogger.com แสดงผลได้ถูกต้องที่สุด

เลือกเพื่อตัวเอง......



หากวันนี้ยังไม่เจ็บเท่าเมื่อวาน ก็วันนี้อย่างน้อยก็ไม่ได้ยินเสียงเธอ

ไม่ใช่อะไร เพราะทุกสิ่งที่เธอพูดมาคือเขาและเธอ"เรารักกัน"

วันนี้ไม่ได้ยินเสียงเธอ เลยไม่ต้องได้ยินประโยคเกี่ยวกับเข


****************


หากแต่วันนี้คิดถึงกว่าเมื่อวาน

ก็เพราะวันนี้ไม่ได้รับรู้เรื่องเธอไม่ใช่เพราะอะไร เพราะ

ไม่ได้ยินเสียงเธอวันนี้เลยไม่รู้ว่าเธอสบายดีไหม
หากแต่ทุกวัน อยากได้พบเธอ

อยากพูดคุยอีกอยากฟังเธอพูด เธอเล่า บางทีก็ได้ยินเสียงหัวเราะเบาๆบาง

ไม่ใช่อะไร แค่อยากฟังเสียงเธอที่เล่าอย่างมีความสุขเหมือนเคยจะ

ได้รู้ว่าวันนี้เธอยังมีความสุข


******************


ถึงฉันจะเจ็บ กับสิ่งที่คนมาทีหลังอย่างฉันไม่อยากรับรู้

แต่ฉันก็เกิดอยากรับรู้ เพราะเธอคงอยากระบายความสุขเธอให้ใครๆฟัง

ฉันยอมที่จะรับฟัง...ถึงจะเจ็บแต่ฉันยังเลือกที่จะได้รับรู้ว่าเธอมีความสุข

ฉันก็สุขเหมือนกันนะ


******************


หากแต่วันนี้...ยังรักเธอเหมือนเดิม...

อยากให้เธอรับรู้..อย่าลืมกัน ไม่ใช่เพราะอะไร

แค่ให้เธอรู้ว่ายังมีฉันเสมอเพราะ

ฉันเลือกที่จะเป็นคนที่รอเธอ...เพื่อความรักของฉันเอง..


*****************